ที่ไม่ได้วินิจฉัย “ใช่ว่าไม่ผิด”

“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” จะอธิบายอย่างไร?

ต่อข้อความที่โพสต์เฟซ ……..
ก่อนศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเมื่อวาน (๒๑ มค.๖๒) ว่า
“แล้ว อนาคตใหม่ ธนาธร ปิยบุตร ช่อ และชำนาญ….ฯลฯ จะรอดน้ำมือ น้ำตีน การเมืองสกปรกของชนชั้นปกครองไทยๆ เดิมๆ หรือ?”
ก็รอดแล้ว นี่ไง…..

ศาลฯ วินิจฉัยว่า การกระทำของพรรคอนาคตใหม่ ธนาธร ปิยบุตร และกก.บห.พรรค

“ไม่เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง

แล้วแบบนี้ คุณชาญวิทย์ ตอบซิ…..
“น้ำมือ น้ำตีน การเมืองสกปรกของชนชั้นปกครอง” ตามที่คุณโพสต์ เจตนาถึงใคร?

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เป็นถึงอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกว่าเป็น “ผู้ใหญ่” ในสังคมของคนส่วนหนึ่ง

ทีหน้า-ทีหลัง จะเลียตูดศิษย์ ก็ควรเลีย ด้วยคำนึงถึงศาสตร์แห่งจริยธรรมสำนึก ให้คู่ควรสถานะที่เคยมี ให้มากซักหน่อย

คดีที่ศาลฯ วินิจฉัยเมื่อวาน พูดกันตรงๆ น้อยคนจะได้ศึกษาคำร้อง ทั้งไม่มีความรู้-ความเข้าใจ ในกระบวนการวินิจฉัยคดี รวมทั้งด้านกฎหมาย

ส่วนใหญ่ ก็จะ “นึกเอา-คิดเอา” ตามที่แต่ละคน-แต่ละฝ่าย ต้องการคำตอบในทางที่ตนต้องการ

ฉะนั้น เมื่อศาลฯ มีคำวินิจฉัย “อนาคตใหม่” ได้ไปต่อ
ก็จะมีทั้งคน พอใจ-ไม่พอใจ บนฐานต้องการตัวเอง

แต่ถ้ามองบน “ฐานกฎหมาย” ด้วยมาตรฐานกฎหมายเที่ยง ก็จะเห็นว่า
ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พรรคอนาคตใหม่ ธนาธร ปิยบุตร และกก.บห.พรรค ได้ไปต่อ นั้น

พินิจคำวินิจฉัย จะเห็นว่า………
ปราศจาก “ลำเอียง-กลัว-อคติ” ด้วย รัก โลภ โกรธ หลง ตั้งตรงอยู่บนฐานข้อกฎหมาย และดุลยธรรมแห่งองค์คณะชัดเจน

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ชัดเจนยังไงน่ะหรือ?
ก็เหมือนการสอบ ข้อสำคัญแรก ต้องศึกษา “โจทย์” คือต้อง “ตีโจทย์ให้แตก” ก่อน ถ้าตีไม่แตก ก็จะเละ และเลอะเทอะ!

คดีนี้ นายณฐพรร้อง ขอให้ศาลฯวินิจฉัย แยกเป็น ๓ ส่วน

ส่วนที่ ๑ ร้องว่า ข้อบังคับพรรคอนาคตใหม่ ขัดรัฐธรรมนูญ ปี ๖๐ มาตรา ๔๙ วรรคแรก ขอให้วินิจฉัยว่า ข้อบังคับพรรคเป็นโมฆะหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ส่วนที่ ๒ และที่ ๓ เชื่อมโยงกัน……….
ให้วินิจฉัย ยุบพรรค เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ธนาธร ปิยบุตร และกก.บห.พรรค

เพราะกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๙ และพรป.พรรคการเมือง พศ.๒๕๖๐ มาตรา ๙๒(๑)(๒)

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

และเมื่อวาน (๒๑ มค.๖๓)……….
“นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ” ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้รับมอบหมายจากองค์คณะให้อ่านคำวินิจฉัย
ได้อ่านคำวินิจฉัยว่า ประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาวินิจฉัย มี “ประเด็นเดียว” คือ ………..

“การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง หรือไม่?”

เมื่อนายณฐพรร้อง ให้วินิจฉัยถึง ๓ ประเด็น
แต่ทำไมศาลฯ จึงบอกว่า “ประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาวินิจฉัย “ประเด็นเดียว”?
ค่อยๆ อ่านคำวินิจฉัยไปเรื่อยๆ แล้วจะกระจ่าง เอ้า…อ่านได้เลย………

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

“เมื่อพิจารณาตามคำร้อง คำร้องเพิ่มเติม และเอกสารประกอบแล้ว
กรณีที่ผู้ร้องอ้างว่า การออกข้อบังคับ นโยบาย และสัญลักษณ์ของพรรคอนาคตใหม่ เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เนื่องจาก ข้อบังคับ นโยบาย และสัญลักษณ์ของพรรคดังกล่าวมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองและไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ๒๕๖๐ มาตรา ๑๔(๑) และมาตรา ๑๕(๒) และ(๓) นั้น

ศาลฯ เห็นว่า…………การออกข้อบังคับของพรรคการเมือง เป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้งพรรคการเมือง ซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

โดยเอกสารและหลักฐาน ที่ต้องยื่นพร้อมกับคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง

ต้องประกอบด้วย ข้อบังคับพรรค ซึ่งจะต้องไม่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองฯ และต้องไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ

นอกจากนั้น ข้อบังคับพรรค จะต้องมีภาพเครื่องหมายของพรรค และนโยบายของพรรค

ดังนั้น กระบวนการยื่นคำร้องของจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองนั้น จะต้องยื่นข้อบังคับพรรคพร้อมคำขอด้วย

ทั้งนี้ เมื่อนายธนาธรได้ยื่นคำขอจดจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ และนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของ กกต. ได้รับจดทะเบียนพรรคอนาคตใหม่ และมีประกาศจัดตั้งพรรคในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

กรณีนี้ ย่อมแสดงว่า……..
ข้อบังคับพรรคอนาคตใหม่ ไม่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เนื่องจาก นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ตรวจสอบและได้รับความเห็นชอบจาก กกต.ให้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคได้

อย่างไรก็ตาม……….
ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงในภาพหลังว่า ข้อบังคับของพรรคอนาคตใหม่ ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองฯ มาตรา ๑๔(๑)และมาตรา ๑๕(๒) และ(๓)
ก็เป็นหน้าที่และอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่จะรายงานไปยัง กกต.พิจารณา
และมีมติให้เพิกถอนข้อบังคับดังกล่าวได้

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ข้อเท็จจริงในกรณีนี้………
หาได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นแต่อย่างใด และผู้ถูกร้องทั้ง ๔ คน ก็ไม่ได้มีการกระทำอื่นใด นอกเหนือจากการจดทะเบียนจัดตั้งพรรค

กรณีนี้ จึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังว่าการประทำของผู้ถูกร้องทั้ง ๔ นั้น เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ

การยื่นคำร้องของผู้ร้องนี้……..
คงเป็นเพียงข้อห่วงใยของผู้ร้องในฐานะพลเมืองที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และระบบการปกครองของประเทศ

ดังนั้น………
ข้อบังคับของพรรคอนาคตใหม่ ที่ใช้ถ้อคำว่าหลักประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนรายการคำประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองข้อ ๖ วรรคสอง ที่กำหนดว่า

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

“พรรคอนาคตใหม่ ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยตามหลักรัฐธรรมนูญ”

ซึ่งการใช้ข้อความในข้อบังคับของพรรคการเมือง ควรให้ความชัดเจน ไม่มีความคลุมเครือแตกต่างจากรัฐธรรมนูญมาตรา ๒ ที่บัญญัติว่า

“ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

อันอาจก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างชนในชาติตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองฯ มาตรา ๑๔(๓)ได้

ซึ่ง กกต.มีหน้าที่และอำนาจที่จะพิจารณาและมีมติให้เพิกถอนข้อบังคับนั้นได้ ตามมาตรา ๑๗ วรรคสาม

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เพื่อป้องกันความสับสน ขัดแย้ง ที่อาจจะเกิดขึ้น สมควรที่ผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ช่วยกันแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญต่อไป

กรณีที่ ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า………
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยบุตร แสงกนกกุล และคณะกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่
มีพฤติการณ์แนวคิด ทัศนคติคลั่งไคล้ปรัชญาตะวันตก เป็นกระบวนการปฏิปักษ์ ปฏิกษัตริย์นิยม มีแนวความคิดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมไทย โดยการแสดงความคิดเห็น ทั้งก่อนและหลัง การจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่
เช่นการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน การแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะชน การแสดงความคิดเห็นต่อการแก้รัฐธรรมนูญ นั้น

ศาลฯ เห็นว่า…….
การพิจารณาว่าบุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ นั้น
จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย และความประสงค์นั้น ถึงระดับที่วิญญูชนควรอาจคาดเห็นได้ว่า

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

“น่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อทำให้เกิดการล้มล้างการปกครอง”

โดยการกระทำนั้น……..
“จะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ”

แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคดี
เป็นเพียงข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออินเทอร์เน็ต
และยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีพฤติการณ์หรือการกระทำตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างแต่อย่างใด
จึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังได้ว่า เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ
ส่วนกรณีการกระทำอื่นใดของผู้ถูกร้องทั้ง ๔ จะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นหรือไม่

จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนั้น อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลฯจึงวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง ๔ …….

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

“ไม่เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯ” ตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง

เป็นไง กระจ่างมั้ย หรือยังมัวๆ อยู่?
ผมว่าคำวินิจฉัยนี้ ถ้าจะมีคนเจ็บ ด้วยต่อมละอายถูกสะกิด น่าจะเป็นนายทะเบียนพรรคและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

เพราะ “ข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค สัญลักษณ์พรรคอนาคตใหม่” ที่คลุมเครือ ซ่อนเลศนัย นั้น
ผ่านการตรวจสอบของนายทะเบียนและผ่านการเห็นชอบจากกกต.ก่อนอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งพรรคทั้งสิ้น

กรณีนี้ ศาลฯบอกว่า……
เพื่อป้องกันความสับสน ขัดแย้ง ที่อาจจะเกิดขึ้น สมควรที่ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” จะได้ช่วยกันแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญต่อไป
ใครล่ะ “ผู้เกี่ยวข้อง”?

ก็นายทะเบียน “พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา” และกกต.ทั้ง ๗ นั่นแหละ!

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เนี่ย…จะเห็นว่า ศาลฯ วินิจฉัย ตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง ตามที่นายณฐพรร้อง “ประเด็นเดียว”

ส่วนที่โยงจากมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง ไปถึงการยุบพรรค ตัดสิทธิลงเลือกตั้ง ตามพรป.พรรคการเมือง พศ.๒๕๖๐ มาตรา ๙๒(๑)(๒) นั้น
ศาลฯ “ไม่วินิจฉัย”!

เพราะเรื่องการล้มล้างการปกครองฯ นั้น มาตรา ๔๙ ให้สิทธิบุคคล ร้องต่ออัยการสูงสุด หรือต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยสั่งการให้ “เลิกการกระทำ” ได้

แต่เรื่องยุบพรรค เรื่องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามพรป.พรรคการเมือง พศ.๖๐
นายทะเบียนพรรคการเมือง และกกต.เท่านั้น มีสิทธิยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค

นายณฐพร ในความเป็นบุคคลทั่วไป ไม่มีสิทธิยื่น แต่ที่ยื่น เป็นแค่ “ลูกติดกัน” จากคำร้องตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่งเท่าน้ั้น

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เมื่อประเด็นนี้ ไม่เข้ากฎเกณฑ์ตามบทบัญญัติกฎหมาย จึงไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลฯจะวินิจฉัย

เข้าใจกันละมัง แต่ศาลฯ ท่านก็ชี้ทางไว้ว่า….

“กรณีการกระทำอื่นใด ของผู้ถูกร้องทั้ง ๔ จะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นหรือไม่ จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป”

นี่แหละ…นี่แหละ
หลายประเด็น ที่ คาตา-คาหู จนข้องใจกันว่า ให้รอ “ถั่วสุก-งาไหม้” เสียก่อน ค่อยมาฟ้องได้ อย่างนั้นหรือ?

ไม่ใช่อย่างนั้น ……
ร้องให้ “ถูกเรื่อง-ถูกศาล” นั่นแหละ ที่ท่านบอก!

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

Written By
More from plew
“สงคราม” หรือ “สันติภาพ”-เปลว สีเงิน
เปลว สีเงิน “กบเลือกนาย” คืออย่างไร ดูได้จาก “อเมริกัน” เลือกผู้นำ ว่า “โดนัลด์ ทรัมป์” แย่ ทิ้งทรัมป์ไปเลือก...
Read More
0 replies on “ที่ไม่ได้วินิจฉัย “ใช่ว่าไม่ผิด””